แนวคิด

                       จำนวนผู้หญิงในสังคมไทยที่ตกเป็นเหยื่อของการถูกกระทำความรุนแรงทางเพศ มีมากยิ่งขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งปัจจัยหลักของความร้ายแรงนั้น เนื่องมาจากความต้องการทางเพศอันเป็นตัณหาของเพศชายนั้นเอง เมื่อพิจารณาวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาจะพบว่าสภาพสังคมที่เพศชายกระทำความรุนแรงต่อเพศหญิงนั้นเพราะเห็นผู้หญิงเป็นเพียงผู้รองรับตัณหาของตน และถ้าพิเคราะห์ให้ลึกลงไปถึงสาเหตุและแรงจูงใจที่ก่อให้เกิดความร้ายแรง อันเป็นการทารุณกรรมต่อเพศหญิง ก็จะพบว่านอกเหนือจากเหตุปัจจัยของสภาพสังคมที่เสื่อมถอยทางด้านศึลธรรมจรรยาแล้วภาพหรือเสียงที่ปรากฏใน "สื่อ" ที่นำเสนอข่าวคดีข่มขืนในรูปแบบต่าง ๆ นั้นเองกลับกลายเป็นสิ่งกระตุ้นเร้าที่ทำให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบที่ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นไปอีก
                      ข้าพเจ้าต้องการเสนอทัศนะที่มีต่อความเลวร้ายของการทารุณกรรมทางเพศในสังคมไทยซึ่ง "เหยื่อ" ของความเลวร้ายคือผู้สูญเสียทั้งความเป็นตัวตนและจิตวิญญาณไปอย่างหน้าเสียดาย จริงอยู่ที่การกู้กลับคืนสู่สภาพจิตปรกติของผู้เคราะห์ร้ายบางส่วนอาจเป็นไปได้มากน้อย หรือเร็ว-ช้า ขึ้นอยู่กับบริบทแวดล้อม คำปลอบประโลมของบุคคลในครอบครัว แต่สังคมไม่อาจปฏิเสธข้อเท็จจริงที่ว่า ผู้เคราะห์ร้ายอีกจำนวนไม่น้อยตกอยู่ในสภาพตายทั้งเป็น ซ้ำร้ายยิ่งไปกว่านั้นยังอาจถูกตำหนิเหยียดหยามมองอย่างไร้ความเมตตาอีกด้วย ข้าพเจ้าจึงอาศัยสื่อศิลปะนี้บอกเล่าถึงความเสื่อมทรามของสังคมที่ส่วนหนึ่งมีผลมาจาก "สื่อ" และอีกส่วนหนึ่งคือการตั้งคำถามแทน "เหยื่อ" ผู้เคราะห์ร้ายที่ไม่อาจหาคำตอบได้ว่า ...ทำไมจึงต้องเป็นเธอเหล่านั้น

ภาพผลงาน

ชื่อภาพ : สุภาพสตรี1

เทคนิค : Lithograph
ขนาด : 83 x64 ซม.

ชื่อภาพ : สุภาพสตรี2

เทคนิค : Lithograph
ขนาด : 87 x64 ซม.

ชื่อภาพ : สุภาพสตรี3

เทคนิค : Lithograph
ขนาด : 67 x 83 ซม.

ชื่อภาพ : สุภาพสตรี4

เทคนิค : Lithograph
ขนาด : 85 x 59 ซม.

ชื่อภาพ : สุภาพสตรี5

เทคนิค : Lithograph
ขนาด : 85 x 59 ซม.

ชื่อภาพ : สุภาพสตรี6

เทคนิค : Lithograph
ขนาด : 88 x60 ซม.

ชื่อภาพ : สุภาพสตรี7

เทคนิค : Lithograph
ขนาด : 89 x 60 ซม.